บทความ

ขั้นตอนการทำ Portfolio

รูปภาพ
 ขั้นตอนการทำ Portfolio 1.รวบรวมผลงาน ผลงานที่เป็นชิ้นงานซึ่งบ่งบอกถึงความสามรถของเจ้าของผลงานการนำไปใส่แฟ้มผลงานอาจต้องทำให้เป็นรูปแบบภาพ 2.จัดหมวดหมู่ จัดประเภทของกลุ่มผลงานที่รวบรวมได้เป็นกลุ่มวิชาการหรือกลุ่มจริยธรรม 3.คัดเลือกผลงาน ควรคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 ผลงานต่อหนึ่งกลุ่มหัวข้อ 4.จัดลำดับความน่าสนใจของผลงาน หลังจากคัดเลือกผลงานจะเห็นได้ว่าเรามีผลงานด้านใดแล้วบ้างและเรียงลำดับเพื่อให้เข้าใจตัวตนของเรามากขึ้น 5.ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ ควรรู้ว่าผู้ประเมินต้องการเห็นความสามารถด้านใดเพื่อให้เรียงลำดับความสำคัญของผลงานได้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประเมิน 6.ตรวจทาน ตรวจมานว่าแฟ้มผลงานแสดงตัวตนของเราได้ดีหรือไม่และเป็นไปตามที่ผู้ประเมินต้องการหรือไม่

ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล

รูปภาพ
 ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล 1.ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ แม้ในขณะที่แบ่งปันข้อมูล เราเข้าใจว่า เป็นการแบ่งปันข้อมูลในเฉพาะ กลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มที่คิดว่าไว้ใจได้ แต่ข้อมูลดิจิทัลนั้น เป็นข้อมูลที่ทําซ้ําได้ง่าย คนในกลุ่มที่เราแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนําไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทําให้ข้อมูลกลายเป็น ข้อมูลสาธารณะ 2.ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม เพราะ เป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนําไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้ 3.ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนํามาใช้หลอกลวง ข้อมูลบางชนิดอาจดูไม่น่าจะเป็นอันตรายในการแบ่งปัน เช่น วันเกิด ตําแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชื่อเพื่อน หรือแม้กระทั่งสีที่ชอบ แต่ผู้ไม่ ประสงค์ดี อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทําการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูล สําคัญของเราได้ เช่น เราอาจจะได้รับอีเมลปลอมจากธนาคารที่ระบุตําแหน่ง หน้าที่การงานของเราได้ถูกต้อง ทําให้เรารู้สึกว่าเป็นอีเมลจากธนาคารจริงและ ให...

องค์ประกอบของการสื่อสาร

รูปภาพ
          ในปัจจุบันนี้การสื่อสารนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างแพร่หลายและยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งนั้น เป็นยุคแห่งการสื่อสารอย่างแท้จริงโดยเฉพาะการสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือซึ่งในยุคปัจจุบันนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกเพราะฉะนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับการรับส่งสารให้มากขึ้นเพื่อที่จะเข้าในในโลกยุคปัจจุบันมากขึ้นโดย องค์ประกอบทของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้ 1. ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  2 .สาร หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้อ...